การเลือกใช้ Wi-Fi ให้เหมาะสมกับองค์กรเป็นเรื่องที่อธิบายได้ยาก บางคนก็บอกว่าให้เลือกเวอร์ชันใหม่สุดย่อมจะดีที่สุด บางคนก็บอกว่าให้เลือกที่สัญญาณแรงถึงจะดีที่สุด ซึ่งในตอนนี้ (ต้นปี 2024) จะพบว่ามีมาตรฐาน Wi-Fi ให้เลือกทั้ง Wi-Fi 6, 6E รวมไปถึง 7 แล้วเราจะเลือกอันไหนถึงจะเหมาะสมกับองค์กรของเรา เรามาร่วมหาคำตอบไปด้วยกัน...
มาตรฐาน Wi-Fi ใดถึงจะเหมาะสม
คำถามนี้เป็นคำถามที่เจอบ่อยที่สุด ใหม่สุดอาจจะไม่ใช่คำตอบที่ดีที่สุดก็ได้เพราะ Wi-Fi จะใช้งานได้สมบูรณ์ต้องประกอบไปด้วย 4 ส่วนคือ
- สวิตช์ (Switch)
- สายแลน
- Access Point
- เครืองไคลเอนต์
โดยในปัจจุบันได้เริ่มมีมาตรฐาน Wi-Fi 7 ออกมาในท้องตลาด คำถามที่น่าสนใจคือเหมาะสมที่ใช้งานแล้วหรือยัง ผมได้หาข้อมูลเปรียบเทียบมาตรฐานมาให้ตามตารางด้านล่าง
Wi-Fi Generation |
IEEE
standard
|
Adopted
(Year)
|
Maximum
link rate (Mbit/s)
|
Radio
frequency (GHz)
|
Apple iPhone Model |
Samsung Galaxy S series |
Wi-Fi 8 |
802.11bn |
2028 |
100,000 |
2.4, 5, 6, mmWave |
N/A (Roadmap) |
|
Wi-Fi 7 |
802.11be |
2024 |
1376–46,120 |
2.4, 5, 6 |
N/A |
Galaxy S24 |
Wi-Fi 6E |
802.11ax |
2020 |
574–9608 |
6 |
iPhone 15 Pro,
iPhone 15 Pro Max
|
Galaxy S21 Ultra, Galaxy S22 Plus,
Galaxy S22 Ultra, Galaxy S23
|
Wi-Fi 6 |
2019 |
2.4, 5 |
iPhone 11 - iPhone 15 Plus,
iPhone SE2 - SE3
|
Galaxy S10 - Galaxy S21,
Galaxy S22
|
Wi-Fi 5 |
802.11ac |
2014 |
433–6933 |
5 |
iPhone 6 - iPhone XS Max |
Galaxy S4 - Galaxy S9 |
Wi-Fi 4 |
802.11n |
2008 |
72–600 |
2.4, 5 |
iPhone 4 - iPhone 5s |
Galaxy S - Galaxy S3 |
Wi-Fi 3 |
802.11g |
2003 |
6–54 |
2.4 |
iPhone - iPhone 3GS |
|
Wi-Fi 2 |
802.11a |
1999 |
5 |
|
|
Wi-Fi 1 |
802.11b |
1999 |
1–11 |
2.4 |
|
|
Wi-Fi 0 |
802.11 |
1997 |
1–2 |
2.4 |
|
|
จากตารางจะเห็นได้ว่า มาตรฐาน Wi-Fi 7 ยังถือว่าใหม่มากในปัจจุบัน (ปี 2024) ซึ่งมีอุปกรณ์รองรับเพียงไม่กี่รุ่น ในขณะที่ Wi-Fi 6E ก็มีอุปกรณ์รองรับไม่มากและยังมีเรื่องของความถี่ที่ใช้งานที่ 6 GHz ซึ่งทาง กสทช. เองก็ได้มีการอนุญาตให้ใช้งานได้เมื่อช่วงเดือนเมษายน 2566 ที่ผ่านมา ในขณะที่หลายประเทศจะยังไม่อนุญาตคลื่น 6 GHz เลย ดังนั้นในตอนนี้ (ต้นปี 2024) จึงแนะนำให้ใช้งาน Wi-Fi 6 เป็นมาตรฐานหลัก ส่วนในอนาคตอีกสัก 1 – 2 ปี อาจจะลงทุนอุปกรณ์ Access Point เป็นบางจุดให้รองรับ Wi-Fi 7 ก็ยังถือว่าเป็นทางเลือกที่เหมาะสม
เช็คสายแลนที่จะใช้งาน Wi-Fi 6 ด้วย เปลี่ยน Access Point แต่ไม่เปลี่ยนสายแลนก็ไม่มีประโยชน์
หลายคนคิดว่าการเปลี่ยน Access Point เพียงอย่างเดียวก็เพียงพอ แต่ในความเป็นจริงแล้วอาจจะไม่ถูกต้องนัก หากลองดู Network Diagram ในการเชื่อมต่อตามรูปด้านล่างจะเห็นได้ว่า Access Point ทำหน้าที่เหมือนอุปกรณ์สวิตช์ดีๆ นี่เอง แถมยังต้องรองรับอุปกรณ์ที่มาต่อเชื่อมจำนวนมาก ซึ่ง Access Point สำหรับองค์กรก็จะมีฟีเจอร์ในการสร้างได้หลาย SSID เพื่อรองรับการเชื่อมต่อสำหรับภายใน (Internal Wi-Fi) และสำหรับแขก (Guest Wi-Fi) ซึ่งโดยทั่วไปแล้วก็จะกำหนดให้แต่ละ SSID เชื่อมต่อไปยังแต่ละ VLAN ที่สวิตช์อีกทีหนึ่งตามรูปด้านล่าง
อ้างอิงตามมาตรฐาน Wi-Fi จะเห็นได้ว่าสามารถรองรับแบนด์วิทธิ์ได้ตั้งแต่ 574 Mbps ถึง 9.6 Gbps เลยทีเดียว โดยในปัจจุบัน (ต้นปี 2024) จะเริ่มมีอุปกรณ์ออกสู่ท้องตลาดและในรุ่นกลางขึ้นไปจะรองรับการเชื่อมต่อได้มากกว่า 1 Gbps (เรียกว่า Multi-Gigablit) ซึ่งรองรับได้ทั้ง 2.5, 5 และ 10 Gbps โดยจะทำงานได้เต็มประสิทธิภาพเมื่อใช้งานสายแบบ Cat6a นั่นเอง โดยสามารถดูได้จากตารางเปรียบเทียบด้านล่าง
Parameter |
Cat6 |
Cat6a |
Speed |
10 Gbps over 33-55 meters (110-165 feet) of cable |
10 Gbps over 100 meters (330 feet) of cable |
Frequency |
Up to 250 MHz |
Up to 500 MHz |
Maximum cable
length
|
100 meters for slower network speeds (up to 1,000
Mbps) and higher network speeds over short distances.
For Gigabit Ethernet, 55 meters max, with 33 meters in
high crosstalk conditions.
|
100 meters across all systems and
conditions for Gigabit Ethernet.
|
Cost |
Varies by length and manufacturer, with $0.40 - $0.60
per foot as an average; generally about 20% higher than
Cat5e.
|
Varies by length and manufacturer, with
$0.55 - $0.85 per foot as an average;
generally about 20-35% higher than
Cat6.
|
Standard
gauges in
conductors
|
22-24 AWG wire |
16-20 AWG wire |
หรืออธิบายแบบง่ายๆ ก็คือ หากเราเปลี่ยน Access Point ให้เป็น Wi-Fi 6 แล้ว ในจุดไหนที่มีการใช้งานสูงก็ควรจะเปลี่ยนสายแลนให้เป็นแบบ Cat6a ด้วย เสมือนกับเปลี่ยนรถยนต์ให้ดีขึ้นแล้ว ก็ต้องปรับปรุงถนน (สายแลน) ให้ดีขึ้นด้วยเพื่อให้ใช้งานได้เต็มประสิทธิภาพนั่นเอง พร้อมทั้งสวิตช์ก็ต้องรองรับความเร็วดังกล่าว และจะให้ใช้งานได้ดีที่สุดสวิตช์ก็ควรรองรับการจ่ายไฟ (Power over Ethernet หรือ PoE) เพื่อจะได้เดินสานแลนเพียงเส้นเดียวนั่นเอง
เลือก Access Point ที่สัญญาณแรงจะดีกว่า
สำหรับคำพูดดังกล่าวอาจจะไม่จริงเสมอไป จากประสบการณ์ที่ผ่านมาหากเราใช้งาน Access Point ที่สัญญาณแรงๆ เอามาวางใกล้ๆ กันกลับกลายเป็นปัญหาแทนเนื่องจากสัญญาณมากวนกันเอง (หรือเรียกแบบดูเท่ๆ ว่า “Wi-Fi Interference” นั่นเอง) อาจจะลองนึกภาพตาม หากเราติดตั้ง Wi-Fi ในออฟฟิสกลางเมืองที่มี Wi-Fi อยู่เต็มไปหมด นั่นแปลว่าสัญญาณรบกวนมีเต็มไปหมด และเราไม่สามารถไปปิดสัญญาณเหล่านั้นได้ด้วย ปัญหาแบบนี้เราจะจัดการได้อย่างไร คำตอบก็คือหากสามารถทดสอบ Access Point ก่อนได้ ก็จะช่วยพิจารณาได้ดีขึ้น ซึ่ง Access Point สำหรับองค์กรจะต้องมีฟีเจอร์เรื่องของการจัดการสัญญาณเป็นหัวใจสำคัญ ส่วนฟีเจอร์อื่นๆ อาจจะเป็นส่วนเสริมเช่น ฟีเจอร์ด้านความปลอดภัย ฟีเจอร์การล็อกอินแบบ Single Sign-On
ตามความเห็นส่วนตัวแล้ว ผมคิดว่า Access Point หน้าที่หลักคือการเชื่อมต่อเครื่องไคลเอนต์เป็นหลัก สำหรับฟีเจอร์ด้านความปลอดภัยจะขึ้นอยู่กับความต้องการขององค์กร ซึ่งในบางครั้งฟีเจอร์เหล่านั้นอาจจะใช้อุปกรณ์ Network Security เช่น ไฟร์วอลล์ (Firewall) เข้ามาเสริมได้ โดยพื้นฐานแล้วก็ยังจำเป็นต้องมีการแบ่งโซนการจัดการ (เรียกแบบทางการว่า การทำ “Network Segmentation” นั่นเอง)
บทสรุป
การซื้ออุปกรณ์ Wi-Fi เมื่อซื้อแล้ว ควรจะใช้งานได้คุ้มค่าที่สุด สำหรับปัจจุบัน (ต้นปี 2024) แนะนำให้ใช้งาน Wi-Fi 6 ก็เพียงพอ แต่อาจจะพิจารณาเรื่องของสายแลนที่ต้องปรับปรุงให้เป็น Cat6a เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุดสำหรับการใช้งาน Wi-Fi ซึ่งออฟฟิสปัจจุบันนิยมใช้งาน Wi-Fi ทดแทนการใช้สายแลนแล้ว เพราะความสะดวกและคล่องตัวมากกว่านั่นเอง
อ้างอิง: